วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

จำ 12 tense

หากคุณเคยมีปัญหากับ “ภาษาอังกฤษ”ศัพท์ก็ยาก ไหนไวยากรณ์อีกเพียบ 'Tense'ที่ทั้งท่องทั้งจำกันมาตั้งแต่เด็ก แต่ยังไง๊..ยังไง ก็ไม่เข้าหัว วันนี้ Life on campus ไปเจอเคล็ดลับดีๆ ในเพจจีบัน ดอท คอม โดยคุณเอมได้เขียนสรุปทั้ง 12 tense อ่านแล้วเข้าใจง่าย จนคุณต้องร้อง...อ๋อ!!! ถ้าพร้อมแล้วไปดูสูตรเด็ดเคล็ดไม่ลับจำ 'Tense' ของคุณเอมกันเลย...
      
       มาเริ่มกันที่...
      
       ก่อนอื่นเราดูตารางคร่าวๆ ก็จะเห็นว่าตารางนี้ มี 4 คอลัมน์ กับอีก 3 แถว รวมทั้งหมดไฝว้กันออกมาได้เป็น 12 ช่อง
       โดยที่หัวตารางด้านบนในแนวตั้ง จะเป็นสิ่งที่เรียกว่า tense จะมี 4 อัน คือ
      
       1. Simple  2. Continuous  3. Perfect  4. Perfect Continuous
      
       ส่วนหัวตารางด้านซ้ายในแนวนอนจะเป็น time (เวลา) จะมี 3 อัน คือ
      
       1. Present ( ปัจจุบัน)  2. Past (อดีต)  3. Future (อนาคต)
      
       ***ค่อยๆ ดูไปด้วยกันทีละคอลัมน์ในแนวตั้ง เวลาอ่านชื่อ tense ก็อ่านช่องด้านซ้ายก่อน แล้วก็ต่อด้วยช่องด้านบน
'12 tense' จำง่าย...เข้าใจแบบไม่ต้องท่อง!!!
        ช่องแรกคือ Simpleง่ายสุดเลย
       
       • Present Simple เป็นแบบที่เราเรียนกันมาง่ายๆ เลย “Sub + V1” (เติม s/es เมื่อประธานเป็นเอกพจน์)
      
       • Past Simple ก็ง่ายอีก “Sub + V2” ไปเลย ในเมื่อ V2 มันก็คือกริยาที่ใช้สำหรับในอดีตอยู่แล้ว
      
        Future Simpleเอา “Sub + will + Vinf” โดยที่คำว่า will แปลว่า "จะ" มันจะทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยในประโยค ตามด้วย Vinf ก็คือ Verb ที่ไม่เปลี่ยนไม่เติมอะไรใดๆ ทั้งสิ้น หรือแบบที่เราจำกันมาตลอดว่า Sub + will + V1 นั้นแหละ เราก็จำว่า ถ้าจะบอกว่า จะทำนู้น จะไปนี่ จะเอานั่น เราก็แค่ใช้ “will + verb” ข้างหลังที่ไม่ต้องไปเติมไรให้มันอีก เพราะ will บอกไปหมดแล้วว่ามันเป็นอนาคต เราเหลือแค่ต้องบอกว่าจะทำอะไร แค่นั้นพอ อย่าเยอะ!
      
       ***ดังนั้นเมื่อไหร่เจอ I will eating. I will eaten. ผิดทันที !!!!!!!!!!***
'12 tense' จำง่าย...เข้าใจแบบไม่ต้องท่อง!!!
        ช่องที่สองคือ Continuous รูปประโยคของมันจะเป็น V. to be + Ving
       (Verb to be ก็คือ is am are เป็น อยู่ คือ ที่ท่องกันมานั้นแหละ)
      
       "มันจะอยู่ช่วงเวลาไหน มันก็เป็น V.to be + Ving โดยที่เราผันตัว V.to be ไปตามเวลาของมัน แต่ Ving คงเดิมตลอด เพราะตัวที่บอกความเป็น Continuous คือ Ving"
       
        Present Continuous ก็เลยจะเป็น Sub + is/am/are + Ving ดังนั้นเมื่อไหร่เจอ I'm kicks. I'm loves. ผิดทันที!!! แต่ถ้าเจอ I'm kicked. I'm loved. อาจจะไม่ผิดนะ เป็นรูปประโยคแบบ Passive Voice ต้องแปลความหมายเอา แต่พวก I'm said....ผิดทันที
      
       • Past Continuous รูปประโยคแบบเดิมเปี๊ยบแต่เราผันตัว is/am/are ให้กลายเป็นอดีตไปซะ ก็จะได้เป็น Sub + was/were + Ving
      
       • Future Continuous พอเป็นอนาคต เราก็ต้องใช้ “will” มาบอกว่าเรา "จะทำ" แล้วหลัง will มันต้องไม่เปลี่ยน ไม่เติมอะไร เราก็เลยได้เป็น “Sub + will + be + Ving” และ “be” ตรงกลางนั่นก็มาจาก V. to be ไง จำได้มั้ยรูปประโยคต้องเป็น V.to be + Ving ตลอด
      
       สรุป ไปดูในรูปจะเห็นว่า ช่องContinuous ในแนวตั้ง ไม่ว่าจะช่วงเวลาไหน
       จะมีกรอบสีเหลืองที่เป็น V.to be ตลอด และที่สำคัญที่สุดคือ มีตัวสีส้ม คือ Vingตลอด !!!!!!!!!
'12 tense' จำง่าย...เข้าใจแบบไม่ต้องท่อง!!!
        ช่องถัดมาคือ Perfect รูปของมันจะเป็น V. to have + V3 (ที่ดูเหมือนยาก แต่ก็ไม่ยากเลย)
      
       "มันจะอยู่ช่วงเวลาไหน มันก็เป็น V.to have + V3 โดยที่เราผันตัว V.to have ไปตามเวลาของมัน แต่ V3 คงเดิมตลอด เพราะตัวที่บอกความเป็น Perfect คือ V3"
       
       • Present Perfect ก็เลยเป็น "Sub + has/have + V3" ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ (He, She,I t, คน สัตว์ ของ 1 อัน) ก็ใช้ "has" ถ้าเป็นพหูพจน์ (You, We, They, คน สัตว์ ของมากกว่า 1) ก็ใช้ "have"
      
       • Past Perfect แบบประโยคเหมือนเดิม แต่เราต้องทำ has/have ให้มันเป็น ช่อง 2 เพราะ V2 คือ V ที่บอกอดีต แล้วช่อง 2 ของ has/have ก็คือ had เราเลยได้เป็น "Sub + had + V3" อุต๊ะ ง่ายจิมจิม!!
      
       • Future Perfect พอเป็นอนาคตก็ต้องบอกว่า "จะ..." เหมือนเดิม ได้เป็น "Sub + will + have + V3" เพราะหลัง will บอกแล้วว่า verb มันต้องธรรมดา ไม่เติม ไม่เปลี่ยน เลยต้องกลับมาใช้ have ธรรมดา แล้วก็ตามด้วย V3 ซะ ได้ Perfect ด้วย แล้วยังเป็น Future อีกต่างหาก 
      
       ***และใช้ have อย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่has จำซะว่าเราเน้นบอกว่ามันเป็นอนาคต ส่วน Perfect เราแค่มี have + V3 มันก็ perfect แล้วไง ไม่ต้องไป has ให้มันเยอะ!! ดังนั้นเมื่อไหร่ใช้ will has ..... หรือ will had.....  หรือ will v3..... ผิดทันที !!!!!!!!***
       
       สรุป ไปดูในรูปจะเห็นว่า ช่อง Perfect ในแนวตั้ง ไม่ว่าจะช่วงเวลาไหน 
       จะมีกรอบสีพีชที่เป็น V.to have ตลอด และที่สำคัญที่สุดคือ มีตัวสีชมพู คือ V3 ตลอด !!!!!!!!!
'12 tense' จำง่าย...เข้าใจแบบไม่ต้องท่อง!!!
        สุดท้ายยยยยก็คือ Perfect Continuous
       
       "ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า Perfect Continuous มันก็เลยต้องมีทั้ง Perfectคือ have + V3 แล้วก็ Continuous ก็คือVing ด้วย รูปประโยคของมันก็เลยเป็น Sub + V. to have + V.3 (ซึ่งในที่นี้คือ been ซึ่งเป็นช่อง 3 ของ be) + Ving"
      
       • Present Perfect Continuous จากรูปแบบมันเราเลยได้เป็น"Sub + has/have + been + Ving" โดย has/have been ก็บอกความเป็น perfect ส่วน Ving ก็บอกความเป็น Continuous จับมาต่อกัน
      
       • Past Perfect Continuous จับ has/have มาทำเป็นอดีตซะ ที่เหลือไม่ต้องเปลี่ยน ก็ได้เป็น “Sub + had + been + Ving” ซึ่ง had ก็บอกว่าเป็นอดีต แล้ว had+been ก็บอกความเป็น perfect แล้ว Ving ก็บอกความเป็น Continuous ครบ!!!
      
       • Future Perfect Continuous เป็น future เมื่อไหร่ ใช้ will เมื่อนั้น! มี will เมื่อไหร่หลัง will เป็น have เท่านั้น เราก็เลยได้ว่า “Sub + will + have + been + Ving” โดย wil บอกความเป็นอนาคต have been บอกความเป็น perfect แล้ว Ving ก็บอกความเป็น Continuous !!!!!
      
       ***ดังนั้นเมื่อไหร่ที่ใช้***
       will + has + been + Ving ผิดทันที!
       will + been + Ving ผิดทันที!
       will + have + be + Ving ผิดทันที !!!!!!!
      
       สรุป ไปดูในรูปจะเห็นว่า ช่อง Perfect Continuous ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลา ปัจจุบัน อดีต อนาคต
       จะมี Sub + V.to have ในกล่องสีพีช + been แล้วตบท้ายด้วย Ving ตลอด !!!!!!!!!!!
       

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

มาเรียนภาษาเยอรมันกันเถอะ! - ภาคไวยากรณ์


ชื่อเรียกของแต่ละตัวอักษรในภาษาเยอรมัน
ตัวพิมพ์ใหญ่
ตัวพิมพ์เล็ก
IPA
เสียงอ่านโดยประมาณ
A
a
[aː]
อา
B
b
[beː]
เบ
C
c
[tseː]
เซ
D
d
[deː]
เด
E
e
[eː]
เอ
F
f
[ɛf]
เอฟ
G
g
[geː]
เก
H
h
[haː]
ฮา
I
i
[iː]
อี
J
j
[jɔt]
ยอท
K
k
[kaː]
คา
L
l
[ɛl]
แอล์
M
m
[ɛm]
เอ็มม์
N
n
[ɛn]
เอ็นน์
O
o
[oː]
โอ
P
p
[peː]
เพ
Q
q
[kuː]
คู
R
r
[ɛr]
แอร์
S
s
[ɛs]
เอส
T
t
[teː]
เท
U
u
[uː]
อู
V
v
[faʊ]
เฟา
W
w
[veː]
เว
X
x
[ɪks]
เอ็กส์
Y
y
[ʏ́psilɔn]
อิบซิลอน
Z
z
[tsɛt]
เซ็ดด์
Ä
ä
[εː]/[aːʊ́mlaʊt]
แอ, อา อุมเลาท์
Ö
ö
[øː]/[oːʊ́mlaʊt]
เออ*, โอ อุมเลาท์
Ü
ü
[yː]/[uːʊ́mlaʊt]
อิ(ว),* อู อุมเลาท์

ß
[ɛstsɛ́t]
เอสเซ็ท
*เป็นเสียงที่ประมาณในภาษาไทยได้ยาก ให้ฟังเสียงในไฟล์ดีๆ

กฎทั่วไปในการออกเสียง
·       โดยทั่วไปเหมือนกับภาษาอังกฤษ
·       ระวังเรื่อง accent ด้วย คำส่วนใหญ่จะมี accent อยู่ที่พยางค์แรก แต่ก็มีคำยกเว้นที่เป็นคำซึ่งมาจากต่างประเทศอยู่เหมือนกัน
·       เสียงสระเป็นเสียงสั้นไม่ก็ยาว สระที่ลง accent จะออกเสียงยาว
·       แต่ถ้าหลังจากสระเป็นพยัญชนะสองตัวขึ้นไปเรียงติดกัน จะออกเสียงสระเป็นเสียงสั้น
·       คำประสมจะลง accent แยกจากกัน

เสียงสระ (เสียงอ่านภาษาไทยเป็นเสียงโดยประมาณ ลองฟังแล้วพยายามออกเสียงเลียนแบบเสียงจริง)
a
[aː]
อา
da, ja, Mal, Bahn*(*ถ้ามีตัว h หลังสระให้ออกเสียงสระยาว)
[a]
อะ
alt, Mann, halten
e
[eː]
เอ*
beten, geben, Tee* (*สระเรียงซ้อนกันจะกลายเป็นเสียงยาว)
[ɛ]
เอะ*
essen, den
[ə]
เออะ
Nase
i
[iː]
อี
Bibel, mir
[ɪ]
อิ
mit, finden, Sinn
o
[oː]
โอ
Not, Boot
[ɔ]
โอะ
offen, Gott
u
[uː]
อู
tun, Uhr
[ʊ]
อุ
unten, dumm
ä
[ɛː]
เอ
Bär, Dämon
[ɛ]
เอะ
ändern, Männer
ö
[øː]
เออ
Öl, Höhe
[œ]
เออะ
öffnen, können
ü
[yː]
อี(ว)
über, Bühne
[ʏ]
อิ(ว)
dünn, Hütte
ai
[aɪ]
ไอ
Mai
ei
Eis, mein
ay
Bayern
ey
Meyer
au
[aʊ]
เอา
Baum, Traum
äu
[ɔʏ]
ออย
Bäume, träumen
eu
neu, heute, Europa
ie
[iː]
อี
die, Biene, Liebe
(แต่ Familie ออกเสียง [iə] เพราะมาจากต่างประเทศ)

คำอธิบายอย่างไม่เป็นทางการของผู้เขียนสำหรับเสียงสระบางเสียง
·       ตัว e ออกเสียง “เอ” แต่ฉีกปากให้กว้างกว่าปกติ ในขณะที่ตัว ä ออกเสียง “เอ” ธรรมดา
·       เสียง ö ทำปากให้ริมฝีปากห่อเป็นวงกลมเหมือนจะพูดว่า “โอ” แต่ออกเสียงว่า “เอ” (o-e)
·       เสียง ü ทำปากให้ริมฝีปากห่อเป็นวงกลมเหมือนจะพูดว่า “อู” แต่ออกเสียงว่า “อี” (u-i)

เสียงพยัญชนะที่ควรระวัง
b, d, g
[b], [d], [g]
(พยัญชนะต้น) Bett, oben, du, Ende, Gas, gegen

[p], [t], [k]
(ตัวสะกด) ab, Raub, Hand, Kind, Tag, Zug
c
[k]
Computer
[s]
forcieren
[tʃ]
Cello
[ts]
Cäsar
ch
[x]
(หน้า a, o, u, auBach, Koch, Buch, Bauch

[ç]
(นอกจากนั้น) ich, Märchen, echt
chs
[ks]
Fuchs, wachsen
ds
[ts]
abends
ts
nichts, nachts
tz
Platz
dt
[t]
Stadt, Verwandte
h
[h]
haben, hin
(กรณีสระ + h จะกลายเป็นสระยาว) Fahrt, gehen
j
[j]
Japan, jetzt
-ig
[iç]
billig, König
(แต่ billige [bɪ́lɪgə], königlich [kǿːnɪklɪç])
-ng
[ŋ]
Prüfung, lang
ph
[f]
Philosophie, Physik
qu
[kv]
Quelle, Qual
pf
[pf]
(ออกเป็นเสียงเดียว) Apfel, Kopf, Pferd
r
[r]
(รัวลิ้นที่เพดานปาก) rot, fahren, rauchen
[ɐ]
(กลายเป็นเสียงสระ) der, Doktoraber, Butter
s
[z]
(หน้าสระ) also, reisen, sein
[s]
(กรณีอื่น) aus, Bus
ß
[s]
außer, Fuß
sch
[ʃ]
schlafen, schon, Tisch, Englisch
sp, st
[ʃp], [ʃt]
(ขึ้นต้นคำ) spät, sprechen, Student

[sp], [st]
(กรณีอื่น) Knospe, Fenster, Herbst
t
[t]
tot, trinken
[ts]
(ti เสียงต่อไป ในคำต่างประเทศ) Nation, Patient
th
[t]
Theater, Mathematik
tsch
[tʃ]
Deutsch, tschüs
v
[f]
Vater, vier, von

[v]
(คำจากต่างประเทศ) Villa, Universität
w
[v]
Wasser, wo
x
[ks]
Examen, Text
z
[ts]
Herz, Zeit

คำอธิบายอย่างไม่เป็นทางการของผู้เขียนสำหรับเสียงของบางพยัญชนะ
·       b, d, g ถ้าเป็นตัวสะกดให้ออกเป็น p, t, k ตามลำดับ
·       ch ที่ตามหลัง a, o, u หรือ au ออกเสียง ฮ+(สระก่อนหน้านั้น) แบบเป่าออกมาเพียงแต่ลมหายใจ อย่าง Bach, Koch, Buch, Bauch จะออกเสียงประมาณ บา(ฮ)า คอ(ฮ)อ บู(ฮู) เบาโ(ฮ)
·       -ig ออกเสียงราวๆ อิ(ฮิ) คล้ายๆ กับกรณี ch แต่เป็นเสียง ฮิ (มีแต่ลมหายใจ) ลงท้าย
·       sp, st ที่ขึ้นต้นคำ ออกเสียง เป็นเสียง ชุ (=shu) ต่างจากในภาษาอังกฤษที่ออกเป็นเสียง สะ
·       t ในคำจากต่างประเทศที่อย่าง Nation, Patient ออกเสียงเป็น [ts] ในกรณีนี้คือ Nat-si-on และ Pat-si-ent

ฝึกออกเสียง
ตัวเลข
1 eins
2 zwei
3 drei
4 vier
5 fünf
6 sechs
7 sieben
8 acht
9 neun
10 zehn
11 elf
12 zwölf
13 dreizehn
14 vierzehn
15 fünfzehn
16 sechzehn
17 siebzehn
18 achtzehn
19 neunzehn
20 zwanzig
21 einundzwanzig
22 zweiundzwanzig
30 dreißig
40 vierzig
50 fünfzig
60 sechzig
70 siebzig
80 achtzig
90 neunzig
100 hundert
101 hunderteins
1000 tausend
10000 zehntausend


ระวังการออกเสียงตัวเลข 16 sechzehn เซ็ก(ฮิ)-เซน กับ 60 sechzig เซ็ก(ฮิ)-ซิ(ฮิ)
·       ตัวเลข 13 ถึง 19 ก็คือ ถึง ตามด้วยคำว่า ~zehn (สิบ) คล้ายๆ กับภาษาอังกฤษที่เป็น thirteen, fourteen, fifteen… nineteen แต่ว่าให้ระวังคำอ่านของ 16 (sechzehnกับ 17 (siebzehn) ที่จะเพี้ยนไปจากปกติ sechs, 7 sieben
·       ตัวเลข 20, 30 … 90 นั้นตามหลังด้วย ~zig แต่ให้ระวังตรง 30 dreißig (เปลี่ยนจาก เป็น ß60 sechzig และ 70siebzig
·       22 อ่านว่า zweiundzwanzig ซึ่งแยกส่วนได้เป็น zwei|und|zwanzig คือ สอง|และ|ยี่สิบ
ในทำนองเดียวกัน 
23 คือ dreiundzwanzig (drei|und|zwanzig) สาม|และ|ยี่สิบ
หรือ 25 คือ fünfundzwanzig (fünf|und|zwanzig) = ห้า|และ|ยี่สิบ
สังเกตว่า 21 อ่านว่า einundzwanzig คือในกรณีนี้เลข อ่านว่า eins (ตัด ทิ้ง)
·       ตั้งแต่ 100 ขึ้นไปอ่านจากหลักทางซ้าย สองหลักสุดท้ายอย่างเช่น123 อ่านว่า hundertdreiundzwanzig (hundert|dreiundzwanzig)หนึ่งร้อย|สามและยี่สิบ

คำทักทาย
Guten Morgen, Herr Meyer! – Guten Morgen, Frau Müller!
Good morning, Mr. Meyer! – Good morning, Mrs. Müller!
อรุณสวัสดิ์ คุณไมเยอร์ – อรุณสวัสดิ์ คุณนายมุลเลอร์

Guten Tag, Doris! – Guten Tag, Ulrike!
Hello, Doris! – Hello, Ulrike! (จริงๆ Guten Tag แปลว่า Good day)
สวัสดี ดอริส – สวัสดี อุลริเก

Guten Abend, liebe Zuschauer!
Good evening, dear listeners!
สวัสดีตอนเย็นครับ ท่านผู้ฟังที่รัก

Gute Nacht!
Good night!
ราตรีสวัสดิ์

Wie geht es Ihnen? – Danke, gut. Und Ihnen? – Danke, auch gut.*
How are you? – I’m fine, thank you. And you? – I’m fine too, thank you.
สบายดีรึเปล่าครับ? – สบายดีค่ะ แล้วคุณล่ะคะ? – ผมก็สบายดีครับ

Wie geht’s dir? – Danke, gut. Und dir? – Danke, es geht.**
How’s it going? – Fine thanks. And you? – Well, so-so.
นายเป็นยังไงบ้าง? – ก็ดีนิ แล้วนายล่ะ? – ก็พอไหวล่ะนะ

Auf Wiedersehen! – Auf Wiedersehen!
Good bye! – Good bye!
ลาก่อนครับ – ลาก่อนค่ะ

Tschüs, bis morgen! – Tschüs! (ออกเสียงเป็น Tschüss ก็มี)
Bye, until tomorrow! – Bye!
แล้วเจอกันพรุ่งนี้นะ – แล้วเจอกัน

Danke schön! – Bitte schön!
Thank you very much. – You’re welcome.
ขอบคุณมากครับ – ไม่เป็นไรค่ะ

* ประโยคใช้ถามคนที่ไม่สนิทกัน (Ihnen = คุณ)
** ประโยคใช้ถามคนที่สนิทกัน (dir นาย, เธอ, แก)

ชื่อฤดูกาล เดือน วัน ช่วงเวลา
ฤดูกาล
Frühling
[frýːlɪŋ]
spring
ฤดูใบไม้ผลิ
Sommer
[zɔ́mɐ]
summer
ฤดร้อน
Herbst
[hɛrpst]
fall, autumn
ฤดูใบไม้ร่วง
Winter
[vɪ́ntɐ]
winter
ฤดูหนาว

เดือน
Januar
[jánuaːr]
January
มกราคม
Februar
[féːbruaːr]
February
กุมภาพันธ์
März
[mɛrts]
March
มีนาคม
April
[aprɪ́l]
April
เมษายน
Mai
[maɪ]
May
พฤษภาคม
Juni
[júːni]
June
มิถุนายน
Juli
[júːli]
July
กรกฎาคม
August
[aʊgʊ́st]
August
สิงหาคม
September
[zɛptɛ́mbɐ]
September
กันยายน
Oktober
[ɔktóːbɐ]
October
ตุลาคม
November
[novɛ́mbɐ]
November
พฤศจิกายน
Dezember
[detsɛ́mbɐ]
December
ธันวาคม

วัน
Montag
[móːntaːk]
Monday
วันจันทร์
Dienstag
[díːnstaːk]
Tuesday
วันอังคาร
Mittwoch
[mítvɔx]
Wednesday
วันพุธ
Donnerstag
[dɔ́nɐstaːk]
Thursday
วันพฤหัสบดี
Freitag
[fráɪtaːk]
Friday
วันศุกร์
Samstag
[zámstaːk]
Saturday
วันเสาร์
Sonnabend
[zɔ́n|aːbənt]
Sonntag
[zɔ́ntaːk]
Sunday
วันอาทิตย์

·       Tag แปลว่า Day (วัน) วันส่วนใหญ่จึงลงท้ายด้วย ~tag
·       Mittwoch มาจาก Mitte (mid กลาง) Woche (week สัปดาห์) เพราะฉะนั้น Mittwoch จึงมีความหมายราวๆ mid-week หรือ “กลางสัปดาห์” นั่นเอง
·       Sonnabend เป็นคำที่ใช้ในแถบเยอรมันทางเหนือ มาจาก Sonne (sun พระอาทิตย์) Abend (evening ตอนเย็น) รวมกันอาจจะเป็น sun-evening อาจจะทำให้คิดว่าเป็นเย็นวันอาทิตย์ แต่จริงๆ ความหมายเดิมคือ “เย็นก่อนวันอาทิตย์” ก็คือวันเสาร์นั่นเอง

ช่วงเวลา
Morgen
[mɔ́rgən]
morning
เช้า
Vormittag
[fóːɐmɪtaːk]
late morning
สาย
Mittag
[mɪ́taːk]
noon
เที่ยง
Nachmittag
[náːxmɪtaːk]
afternoon
บ่าย
Abend
[áːbənt]
evening
เย็น
Nacht
[naxt]
night
กลางคืน

·       เหมือนก่อนหน้านี้ Mittag มาจาก Mitte (mid กลาง) Tag (day วัน)
·       vor แปลว่า in front of (ก่อนหน้า) ดังนั้น Vormittag จึงแปลว่า “ก่อนเที่ยง” หรือ สาย นั่นเอง
·       nach แปลว่า after, pass (หลังจาก) ดังนั้น Nachmittag ก็คือ “หลังเที่ยง” หรือ บ่าย นั่นเอง