ชื่อเรียกของแต่ละตัวอักษรในภาษาเยอรมัน
*เป็นเสียงที่ประมาณในภาษาไทยได้ยาก ให้ฟังเสียงในไฟล์ดีๆ
กฎทั่วไปในการออกเสียง
· โดยทั่วไปเหมือนกับภาษาอังกฤษ
· ระวังเรื่อง accent ด้วย คำส่วนใหญ่จะมี accent อยู่ที่พยางค์แรก แต่ก็มีคำยกเว้นที่เป็นคำซึ่งมาจากต่างประเทศอยู่เหมือนกัน
· เสียงสระเป็นเสียงสั้นไม่ก็ยาว สระที่ลง accent จะออกเสียงยาว
· แต่ถ้าหลังจากสระเป็นพยัญชนะสองตัวขึ้นไปเรียงติดกัน จะออกเสียงสระเป็นเสียงสั้น
· คำประสมจะลง accent แยกจากกัน
เสียงสระ (เสียงอ่านภาษาไทยเป็นเสียงโดยประมาณ ลองฟังแล้วพยายามออกเสียงเลียนแบบเสียงจริง)
คำอธิบายอย่างไม่เป็นทางการของผู้เขียนสำหรับเสียงสระบางเสียง
· ตัว e ออกเสียง “เอ” แต่ฉีกปากให้กว้างกว่าปกติ ในขณะที่ตัว ä ออกเสียง “เอ” ธรรมดา
· เสียง ö ทำปากให้ริมฝีปากห่อเป็นวงกลมเหมือนจะพูดว่า “โอ” แต่ออกเสียงว่า “เอ” (o-e)
· เสียง ü ทำปากให้ริมฝีปากห่อเป็นวงกลมเหมือนจะพูดว่า “อู” แต่ออกเสียงว่า “อี” (u-i)
เสียงพยัญชนะที่ควรระวัง
คำอธิบายอย่างไม่เป็นทางการของผู้เขียนสำหรับเสียงของบางพยัญชนะ
· b, d, g ถ้าเป็นตัวสะกดให้ออกเป็น p, t, k ตามลำดับ
· ch ที่ตามหลัง a, o, u หรือ au ออกเสียง ฮ+(สระก่อนหน้านั้น) แบบเป่าออกมาเพียงแต่ลมหายใจ อย่าง Bach, Koch, Buch, Bauch จะออกเสียงประมาณ บา(ฮ)า คอ(ฮ)อ บู(ฮู) เบาโ(ฮ)
· -ig ออกเสียงราวๆ อิ(ฮิ) คล้ายๆ กับกรณี ch แต่เป็นเสียง ฮิ (มีแต่ลมหายใจ) ลงท้าย
· sp, st ที่ขึ้นต้นคำ ออกเสียง s เป็นเสียง ชุ (=shu) ต่างจากในภาษาอังกฤษที่ออกเป็นเสียง สะ
· t ในคำจากต่างประเทศที่อย่าง Nation, Patient ออกเสียงเป็น [ts] ในกรณีนี้คือ Nat-si-on และ Pat-si-ent
ฝึกออกเสียง
ตัวเลข
ระวังการออกเสียงตัวเลข 16 sechzehn เซ็ก(ฮิ)-เซน กับ 60 sechzig เซ็ก(ฮิ)-ซิ(ฮิ)
· ตัวเลข 13 ถึง 19 ก็คือ 3 ถึง 9 ตามด้วยคำว่า ~zehn (สิบ) คล้ายๆ กับภาษาอังกฤษที่เป็น thirteen, fourteen, fifteen… nineteen แต่ว่าให้ระวังคำอ่านของ 16 (sechzehn) กับ 17 (siebzehn) ที่จะเพี้ยนไปจากปกติ 6 sechs, 7 sieben
· ตัวเลข 20, 30 … 90 นั้นตามหลังด้วย ~zig แต่ให้ระวังตรง 30 dreißig (เปลี่ยนจาก z เป็น ß) 60 sechzig และ 70siebzig
· 22 อ่านว่า zweiundzwanzig ซึ่งแยกส่วนได้เป็น zwei|und|zwanzig คือ สอง|และ|ยี่สิบ
ในทำนองเดียวกัน 23 คือ dreiundzwanzig (drei|und|zwanzig) = สาม|และ|ยี่สิบ หรือ 25 คือ fünfundzwanzig (fünf|und|zwanzig) = ห้า|และ|ยี่สิบ สังเกตว่า 21 อ่านว่า einundzwanzig คือในกรณีนี้เลข 1 อ่านว่า ein
· ตั้งแต่ 100 ขึ้นไปอ่านจากหลักทางซ้าย + สองหลักสุดท้ายอย่างเช่น123 อ่านว่า hundertdreiundzwanzig (hundert|dreiundzwanzig)= หนึ่งร้อย|สามและยี่สิบ
คำทักทาย
Guten Morgen, Herr Meyer! – Guten Morgen, Frau Müller!
Good morning, Mr. Meyer! – Good morning, Mrs. Müller!
อรุณสวัสดิ์ คุณไมเยอร์ – อรุณสวัสดิ์ คุณนายมุลเลอร์
Guten Tag, Doris! – Guten Tag, Ulrike!
Hello, Doris! – Hello, Ulrike! (จริงๆ Guten Tag แปลว่า Good day)
สวัสดี ดอริส – สวัสดี อุลริเก
Guten Abend, liebe Zuschauer!
Good evening, dear listeners!
สวัสดีตอนเย็นครับ ท่านผู้ฟังที่รัก
Gute Nacht!
Good night!
ราตรีสวัสดิ์
Wie geht es Ihnen? – Danke, gut. Und Ihnen? – Danke, auch gut.*
How are you? – I’m fine, thank you. And you? – I’m fine too, thank you.
สบายดีรึเปล่าครับ? – สบายดีค่ะ แล้วคุณล่ะคะ? – ผมก็สบายดีครับ
Wie geht’s dir? – Danke, gut. Und dir? – Danke, es geht.**
How’s it going? – Fine thanks. And you? – Well, so-so.
นายเป็นยังไงบ้าง? – ก็ดีนิ แล้วนายล่ะ? – ก็พอไหวล่ะนะ
Auf Wiedersehen! – Auf Wiedersehen!
Good bye! – Good bye!
ลาก่อนครับ – ลาก่อนค่ะ
Tschüs, bis morgen! – Tschüs! (ออกเสียงเป็น Tschüss ก็มี)
Bye, until tomorrow! – Bye!
แล้วเจอกันพรุ่งนี้นะ – แล้วเจอกัน
Danke schön! – Bitte schön!
Thank you very much. – You’re welcome.
ขอบคุณมากครับ – ไม่เป็นไรค่ะ
* ประโยคใช้ถามคนที่ไม่สนิทกัน (Ihnen = คุณ)
** ประโยคใช้ถามคนที่สนิทกัน (dir = นาย, เธอ, แก)
ชื่อฤดูกาล เดือน วัน ช่วงเวลา
ฤดูกาล
เดือน
วัน
· Tag แปลว่า Day (วัน) วันส่วนใหญ่จึงลงท้ายด้วย ~tag
· Mittwoch มาจาก Mitte (mid กลาง) + Woche (week สัปดาห์) เพราะฉะนั้น Mittwoch จึงมีความหมายราวๆ mid-week หรือ “กลางสัปดาห์” นั่นเอง
· Sonnabend เป็นคำที่ใช้ในแถบเยอรมันทางเหนือ มาจาก Sonne (sun พระอาทิตย์) + Abend (evening ตอนเย็น) รวมกันอาจจะเป็น sun-evening อาจจะทำให้คิดว่าเป็นเย็นวันอาทิตย์ แต่จริงๆ ความหมายเดิมคือ “เย็นก่อนวันอาทิตย์” ก็คือวันเสาร์นั่นเอง
ช่วงเวลา
· เหมือนก่อนหน้านี้ Mittag มาจาก Mitte (mid กลาง) + Tag (day วัน)
· vor แปลว่า in front of (ก่อนหน้า) ดังนั้น Vormittag จึงแปลว่า “ก่อนเที่ยง” หรือ สาย นั่นเอง
· nach แปลว่า after, pass (หลังจาก) ดังนั้น Nachmittag ก็คือ “หลังเที่ยง” หรือ บ่าย นั่นเอง
|
วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
มาเรียนภาษาเยอรมันกันเถอะ! - ภาคไวยากรณ์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น